วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ขนมไทยไทย

  • ขนมไทยที่อร่อยมีวิธีดังนี้




ขนมเปียกปูน





ขนมหวานไทย : ขนมเปียกปูน

* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
* แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำตาลมะพร้าว 400 กรัม
* น้ำกาบมะพร้าวเผา 3/4 ถ้วยตวง
* น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง
* น้ำปูนใส 4 ถ้วยตวง 
* เนื้อมะพร้าวฝอย 1 1/2 ถ้วย
   (คลุกเกลือนิดหน่อย ไว้สำหรับโรยหน้า)


ขนมลูกชุบขนมหวานไทย : ลูกชุบ
* ถั่วเขียว 450 กรัม
* น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
* น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับทำน้ำวุ้น)
* น้ำกะทิ 400 กรัม
* วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ
* น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำวุ้น)
* สีผสมอาหาร
   (อย่างน้อยแม่สี 3 สี : สีแดง, สีเหลืองและน้ำเงิน),
   จานสีและพู่กัน
* ไม้จิ้มฟัน
   (สำหรับเสียบถั่วที่ปั้นแล้วเพื่อแต่งสีและจิ้มลงในน้ำวุ้น)
* โฟม
  (สำหรับเสียบถั่วปั้นระหว่างทำ ถ้าวางบนพื้นจะเสียทรง)


ขนมไทยแสนอร่อย






วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556




                                                เพลง ขนม.wmv



ทับทิมกรอบ







ขนมวุ้นกระทิ







ขนมสาคู



ขนมบัวลอย



ขนมลอดช่อง





ขนมลูกชุบ




ขนมครก



การแบ่งประเภทของขนมไทย

การแบ่งประเภทของขนมไทย

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย

ขนมไทย
.....ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไป ประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการ อาหารหวานที่จัด เป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่ กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ .....
.....ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกิน ร่วมไปด้วย ต่อมาใน สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอา วัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลง ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ และอะไร ดัดแปลง มาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกส ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์ .....
.....ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ .ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานศิริมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี ฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น .....

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

                                   


                                        ประวัติความเป็นมาของขนมไทย


  สมัยสุโขทัยขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ คือ 
จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย 
สมัยอยุธยา